บทบาทหน้าที่

  

   การพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลไทยสามัคคี นั้น เป็นการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการร่วมคิดร่วมแก้ไขปัญหา ตลอดจนร่วมสร้างร่วมส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชนในเขตพื้นที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลไทยสามัคคี ให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่นในทุกด้าน การพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลไทยสามัคคีจะสมบูรณ์ได้ จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือของชุมชน ในพื้นที่ ประชาชนเกิดความตระหนักร่วมกันในการแก้ไขปัญหาและมีความเข้าใจในแนวทางแก้ไขร่วมกันอย่างจริงจัง การจัดทำแผนอัตรากำลังและการพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลไทยสามัคคีนั้น ได้พิจารณาสรุปรูปแบบและกำหนดแนวทางการจัดทำแผนอัตรากำลังตามแผนพัฒนาท้องถิ่น 4 ปี  ประจำปี 2561 – 2564   ซึ่งได้กำหนดยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนา ตามวิสัยทัศน์ของตำบลไทยสามัคคี  คือ  “ท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์  เกษตรปลอดสาร  การศึกษาก้าวไกล  ไทยสามัคคีน่าอยู่อย่างยั่งยืน”

นอกจากนี้  องค์การบริหารส่วนตำบลไทยสามัคคียังได้เน้นให้คนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา ส่งเสริมการศึกษา การพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง ให้ชุมชนพึ่งตนเองได้ และส่งเสริมงานอนุรักษ์ฐานทรัพยากรท้องถิ่นตามโครงการอรุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี  เพื่อให้ตำบลไทยสามัคคีเป็นเมืองที่น่าอยู่ ตลอดไป  สำหรับยุทธศาสตร์การพัฒนาของตำบลไทยสามัคคี  ได้กำหนดไว้ 10 ยุทธศาสตร์ ดังนี้

      ยุทธศาสตร์  1  ยุทธศาสตร์การสานต่อแนวทางพระราชดำริ

                   1. สามารถแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภค ในช่วงฤดูแล้งโดยการเพิ่มปริมาณการกักเก็บน้ำ เพิ่มแหล่งน้ำ ขุดลอกแหล่งน้ำตามธรรมชาติ ก่อสร้างระบบประปา ฝาย/ทำนบกั้นน้ำ

                   2. สามารถแก้ไขปัญหา/ลดความเสียหายของพืชผลทางการเกษตรจากภัยแล้ง มีการขุดเจาะบ่อบาดาล

                   3. เพิ่มรายได้ เพิ่มอาชีพ จากการประกอบอาชีพทางการเกษตร  เลี้ยงสัตว์

      ยุทธศาสตร์  2  ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาการศึกษา

                   เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ด้านการศึกษา โดยการจัดตั้งศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลไทยสามัคคี จำนวน  2 แห่ง

       ยุทธศาสตร์  3  ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาการเกษตร

                   เพื่อสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจในระดับ ครอบครัว ชุมชน ท้องถิ่น ให้มีความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจ มีความเชี่ยวชาญและมีทักษะในการพัฒนาฝีมือแรงงานในการผลิตภาคการเกษตร เพิ่มมูลค่าของสินค้าและสามารถขยายการตลาดไปสู่ภูมิภาคและทั่วโลกได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเพื่อให้ประชาชนไม่ละทิ้งถิ่นฐาน มีความมั่นคงในการทำงานและมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ตลอดจนมีครอบครัวที่อบอุ่น ซึ่งเป็นจุดมุ่งหมายการพัฒนาเพื่อสร้างความอยู่ดีมีสุขให้กับประชาชนโดยรวม มีกิจกรรมที่ดำเนินการ คือ

               1. โครงการเกษตรสมบูรณ์ ส่งเสริมการปลูกพืชพักสวนครัว ปลูกมะนาวในบ่อซีเมนต์ การทำปุ๋ยหมัก

               2. สนับสนุนด้านการเกษตร โดยการสนับสนุนพันธุ์พืช พันธุ์ไผ่ พันธุ์ปลา พันธุ์ไก่

      ยุทธศาสตร์  4  ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาสังคม

                   เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้ครอบครัว ชุมชน ท้องถิ่น เสริมสร้างทักษะของคนภายในท้องถิ่นให้สามารถพึ่งพาตนเองได้  มีสวัสดิการจากหน่วยงานรัฐไม่ว่าจะเป็น เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุเบี้ยยังชีพคนพิการ    เบี้ยยังชีพผู้ติดเชื้อ HIV โครงการช่วยเหลือผู้ประสบภัยโครงการฝึกอบรมพัฒนากลุ่มอาชีพและพัฒนาศักยภาพชุมชน อุดหนุนโครงการค่ายรวมพลังต่อต้านยาเสพติด โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด กิจกรรมส่งเสริมบำบัดฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด เพื่อช่วยแบ่งเบาและลดภาระค่าใช้จ่าย และสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้แก่ประชาชน

      ยุทธศาสตร์  5  ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาสาธารณสุข

               เพื่อดูแลด้านสาธารณสุข การอนามัย ให้แก่ประชาชน โดยได้มีการจัดซื้อวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้า จัดซื้อทรายอะเบท จัดซื้อยาคุมกำเนิด  จัดซื้อน้ำยาเคมีพ่นหมอกควัน เพื่อลดโอกาสการเกิดโรคติดต่อในชุมชน ช่วยสร้างสุขอนามัยที่ดีแก่ประชาชน

      ยุทธศาสตร์  6  ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน

               ได้มีการดำเนินการก่อสร้าง ซ่อมแซม ปรับปรุง บำรุงโครงสร้างพื้นฐานให้มีความสะดวกและมีมาตรฐาน เพื่อสนับสนุนยุทธศาสตร์ด้านอื่นๆ ให้ประสบผลความสำเร็จ โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการคมนาคมขนส่ง ด้านความสงบเรียบร้อย และความสงบสุขของประชาชน เพื่อสนับสนุนแผนเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นโยบายแห่งรัฐ แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาอำเภอ และจากดำเนินงานในด้านโครงสร้างพื้นฐานขององค์การบริหารส่วนตำบลไทยสามัคคี  นั้นเกิดผลดีต่อท้องถิ่น ดังนี้  เพิ่มเส้นทางขนส่งพืชผลทางการเกษตร สร้างความสะดวกสบายในการสัญจร ก่อสร้างและปรับปรุงบำรุงถนน สะพาน ทางเท้า ท่อระบายน้ำให้สะดวก  เพิ่มปริมาณครัวเรือนที่ได้รับบริการการขยายเขตไฟฟ้า

       ยุทธศาสตร์  7  ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาการท่องเที่ยว ศาสนา วัฒนธรรม ประเพณี และกีฬา

               เพื่อสนับสนุน ส่งเสริมการท่องเที่ยวให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ และจากตำแหน่งที่ตั้ง ไทยสามัคคีมีข้อได้เปรียบทางพื้นที่ ทำให้สามารถพัฒนาการท่องเที่ยวได้ คือ เป็นจุดเชื่อมต่อการเดินทางระหว่างภาคตะวันออกและภาคอีสาน การพัฒนาสถานที่ท่องเที่ยวเชิงเกษตร การเชื่อมโยงตลาดการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยว การสร้างศูนย์บริการนักท่องเที่ยว สามารถสร้างเป็นจุดแวะพักระหว่างการเดินทางและใช้ทรัพยากรด้านการท่องเที่ยวอันหลากหลายของพื้นที่ เป็นปัจจัยดึงดูดนักท่องเที่ยว

                   ด้านการศาสนาและวันธรรม การจัดตั้งสภาวัฒนธรรมตำบลไทยสามัคคี ซึ่งมีกิจกรรมต่าง ๆมากมาย ได้แก่ งานบวชเฉลิมเกียรติ 5 ธันวามหาราช ฯ เพื่อสืบทอดศาสนาและสืบสานประเพณีท้องถิ่น งานประเพณีสงกรานต์ วันผู้สูงอายุและครอบครัว เพื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างครอบครัว  โครงการสืบประเพณีถวายเทียนพรรษา โครงการจัดการแข่งขันกีฬา และกิจกรรมวัฒนธรรม ประเพณีท้องถิ่นอื่นๆอีกมากมาย

     ยุทธศาสตร์  8 ยุทธศาสตร์ด้านการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี

               เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนา และตรวจสอบการบริหารจัดการภาครัฐ และสนับสนุนการปฏิบัติงานตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ เพื่อเสริมสร้างศักยภาพของคนทุกภาคส่วนให้มีส่วนร่วมกับท้องถิ่น เพิ่มทักษะความสามารถในการปรับตัวเป็นองค์กรท้องถิ่นยุคใหม่

      ยุทธศาสตร์  9 ยุทธศาสตร์ด้านการรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

               เป็นการดำเนินงานที่ช่วยลดความเสียหายบนท้องถนนจากอุบัติเหตุช่วงเทศกาล สงกรานต์ ช่วงเทศกาลปีใหม่ การเพิ่มไฟฟ้าสาธารณะในจุดที่เป็นอันตรายต่อประชาชนสร้างความอบอุ่นใจและปลอดภัย

      ยุทธศาสตร์  10 ยุทธศาสตร์ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

               เพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ป่าไม้ แม่น้ำ ลำคลอง ควบคุม รักษาคุณภาพ ฟื้นฟู น้ำเสีย ขยะ เสียง อากาศ ให้ได้มาตรฐานตามกฎหมายกำหนด เพิ่มพื้นที่เขตอนุรักษ์  สวนสาธารณะ ส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรสิ่งแวดล้อม ระบบนิเวศ ป่าไม้ ป่าต้นน้ำ ดังกิจกรรมที่ดำเนินการ คือ โครงการปลูกป่า การบริหารจัดการและรีไซเคิลขยะ การขุดฝังกลบขยะและบ่อขยะ

                    การวิเคราะห์ภารกิจ อำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบล ตามพระราชบัญญัติ
สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 และตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง  ทั้งนี้เพื่อให้ทราบว่าองค์การบริหารส่วนตำบล มีอำนาจหน้าที่ที่จะเข้าไปดำเนินการแก้ไขปัญหาในเขตพื้นที่ให้ตรงกับความต้องการของประชาชนได้อย่างไร โดยสามารถกำหนดแบ่งภารกิจได้ เป็น 7 ด้าน ซึ่งภารกิจดังกล่าวถูกกำหนดอยู่ในพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 และตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542   ดังนี้         

      5.1  ด้านโครงสร้างพื้นฐาน  มีภารกิจที่เกี่ยวข้องดังนี้ 

            1)  จัดให้มีการบำรุงรักษาทั้งทางน้ำและทางบก 

            2)  ให้มีน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค  และการเกษตร

     3)  ให้มีและบำรุงการไฟฟ้าหรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น

     4)  ให้มีและบำรุงรักษาทางระบายน้ำ

     5)  การสาธารณูปโภคและการก่อสร้างอื่น ๆ

     6)  การสาธารณูปการ

     7)  ปฏิบัติหน้าที่อื่น ตามที่ทางราชการมอบหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง

    5.2  ด้านส่งเสริมคุณภาพชีวิต  มีภารกิจที่เกี่ยวข้อง  ดังนี้

         1)  ส่งเสริมการพัฒนาสตรี  เด็ก  เยาวชน  ผู้สูงอายุ  และผู้พิการ

         2)  การรักษาความสะอาดของถนน  ทางน้ำ  ทางเดิน  และที่สาธารณะรวมทั้ง

         3)  กำจัดขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล

         4)  ป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ

         5)  ให้มีและบำรุงสถานที่ประชุม  การกีฬาการพักผ่อนหย่อนใจและสวนสาธารณะ

         6)  การจัดการศึกษา

         7)  การสงเคราะห์  และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก  สตรี  คนชรา  และผู้ด้อยโอกาส

         8)  การให้มีและบำรุงรักษาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ

         9)  การส่งเสริมกีฬา

        10)  การกำจัดขยะมูลฝอยสิ่งปฏิกูลและน้ำเสีย

        11)   การสาธารณสุข  การอนามัยครอบครัวและการรักษาพยาบาล

        12)   ปฏิบัติหน้าที่อื่น ตามที่ทางราชการมอบหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง

5.3  ด้านการจัดระเบียบชุมชน  สังคม  และการรักษาความสงบเรียบร้อย  มีภารกิจที่เกี่ยวข้องดังนี้

       1)  การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

       2)  การคุ้มครองและดูแลทรัพย์สินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน

       3)  การผังเมือง

      4)  การปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัดและการจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย

      5)  การรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง

      6)  การจัดเมืองให้มีและควบคุมสุสาน  และฌาปนสถาน

      7)  การควบคุมการเลี้ยงสัตว์

      8) การจัดให้มีและควบคุมการฆ่าสัตว์

      9) การรักษาความปลอดภัย  ความเป็นระเบียบเรียบร้อยและการอนามัย            โรงมหรสพ  และสาธารณสถานอื่น ๆ

     10) การดูแลรักษาที่สาธารณ

     11)  การรักษาความสงบเรียบร้อย  การส่งเสริมและสนับสนุนการป้องกันรักษาความปลอดภัย  ในชีวิตและทรัพย์สิน

     12) ปฏิบัติหน้าที่อื่น ตามที่ทางราชการมอบหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง

 

5.4  ด้านการวางแผน  การส่งเสริมหารลงทุน  พาณิชยกรรมและการท่องเที่ยว  มีภารกิจ ที่เกี่ยวข้อง  ดังนี้

      1) ส่งเสริมให้มีอุตสาหกรรมในครัวเรือน

      2) ให้มีและส่งเสริมกลุ่มเกษตรกร  และกิจการสหกรณ์

      3) บำรุงและส่งเสริมการประกอบอาชีพของราษฎร

      4) หาผลประโยชน์จากทรัพย์สินขององค์การบริหารส่วนตำบลไทยสามัคคี

      5) ให้มีตลาด

      6) กิจการเกี่ยวกับการพาณิชย์

      7) การท่องเที่ยว

     8) การจัดให้มีตลาด  ท่าเทียบเรือ  ท่าข้ามและที่จอดรถ

    9) การขนส่งและวิศวกรรมจราจร

    10) ปฏิบัติหน้าที่อื่น ตามที่ทางราชการมอบหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง

5.5  ด้านการบริหารจัดการและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  มีภารกิจที่เกี่ยวข้อง  ดังนี้

       1) คุ้มครอง  ดูแล  และบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

       2) การจัดการบำรุงรักษาและการใช้ประโยชน์จากป่าไม้และทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

       3) ปฏิบัติหน้าที่อื่น ตามที่ทางราชการมอบหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง

5.6  ด้านการศาสนา  ศิลปวัฒนธรรม  จารีตประเพณี  และภูมิปัญญาท้องถิ่น  มีภารกิจที่เกี่ยวข้อง  ดังนี้

       1)  บำรุงรักษาศิลปะ  จารีตประเพณี  ภูมิปัญญาท้องถิ่น  และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น

       2) ส่งเสริมการศึกษา  ศาสนาและวัฒนธรรม

       3) การส่งเสริมประชาธิปไตย  ความเสมอภาคสิทธิเสรีภาพของประชาชน

       4) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎรในการพัฒนาท้องถิ่น

       5) ปฏิบัติหน้าที่อื่น ตามที่ทางราชการมอบหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง

5.7  ด้านการบริหารจัดการและการสนับสนุนการปฏิบัติภารกิจของส่วนราชการ  และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

      1) ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่ทางราชการมอบหมาย  โดยจัดสรรงบประมาณหรือบุคลากรให้ตามความจำเป็นและสมควร

      2) กิจการอื่นใดที่เป็นผลประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด

     3) ปฏิบัติหน้าที่อื่น ตามที่ทางราชการมอบหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง

ภารกิจทั้ง  7  ด้าน  ตามที่กฎหมายกำหนดให้อำนาจองค์การบริหารส่วนตำบลสามารถจะแก้ไขปัญหาขององค์การบริหารส่วนตำบลไทยสามัคคีได้เป็นอย่างดี  มีสิทธิประโยชน์และประสิทธิผล  โดยคำนึงถึงความต้องการของประชาชนในเขตพื้นที่  ประกอบด้วย  การดำเนินการขององค์การบริหารส่วนตำบลจะต้องสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ  แผนพัฒนาจังหวัด  แผนพัฒนาอำเภอ  แผนพัฒนาตำบล  นโยบายของรัฐบาล  และนโยบายของผู้บริหารขององค์การบริหารส่วนตำบลเป็นสำคัญ

 

ภารกิจหลัก  และภารกิจรอง  ที่องค์การบริหารส่วนตำบลจะดำเนินการองค์การบริหารส่วนตำบลไทยสามัคคี  มีภารกิจหลักและภารกิจรอง ที่ต้องดำเนินการดังนี้

6.1 ภารกิจหลัก

1) การปรับปรุงด้านโครงสร้างพื้นฐาน

2) การพัฒนาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ

3) การส่งเสริมพัฒนาคุณภาพชีวิตและรายได้

4) การพัฒนาส่งเสริมการประกอบอาชีพเกษตรกรรม

5) การพัฒนาส่งเสริมสุขภาพและสาธารณสุข

6) การสนับสนุนและพัฒนาอุตสาหกรรมในครัวเรือนและเศรษฐกิจชุมชน

7) การส่งเสริมเละป้องกันยาเสพติด

8) การพัฒนารายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบล

9) พัฒนาแหล่งน้ำอุปโภค  บริโภค  และเพื่อการเกษตร

6.2 ภารกิจรอง

1) การฟื้นฟูวัฒนธรรมและส่งเสริมประเพณีท้องถิ่น

2) ส่งเสริมผักปลอดสารพิษ

3) การพัฒนาการมีส่วนร่วมทางการเมืองและการบริหาร

4) การพัฒนาและปรับปรุงแหล่งท่องเที่ยว

5) การพัฒนาและสงเคราะห์เด็ก  สตรี  คนชรา  และผู้ด้อยโอกาส